โรคงูสวัด

เกิดจากเชื้อไวรัสงูสวัด ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคอีสุกอีใส อาการเริ่มแรกผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดตาม

ร่างกาย จากนั้นมีลักษณะตุ่มพองขึ้นตามแนวเส้นประสาทเป็นทางยาว เช่น บริเวณชายโครง แขนข้างหนึ่ง ขาข้างหนึ่ง (มักพบเพียงซีกใดซีกหนึ่งของทรวงอก ใบหน้า หรือแขน ขา) ปวดแสบปวดร้อนคล้ายถูกไฟลวก จากนั้น 2-3 วัน จะมีผื่นแดงตามแนวที่ปวดแสบปวดร้อน จากผื่นแดงกลายเป็นตุ่มใสขนาดเล็กเรียงตามแนวเดิม แล้วกลายเป็นตุ่มขุ่นๆ แตกและจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปาดาห์ (คนอายุมาก อาจเป็นนาน 4-5 สัปดาห์) ยกเว้นแต่จะมีแบคทีเรียมาติดที่แผล กลายเป็นหนอง ซึ่งต้องไปพบแพทย์
งูสวัดพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ติดต่อโดยการสัมผัสกับคนที่เป็นงูสวัดหรืออีสุกอีใส คนที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นครั้งแรกในชีวิตจะเกิดอีกสุกอีใสแล้ว เชื้อจะหลบเข้าไปอยู่ที่ปมประสาท แฝงตัวอยู่อย่างสงบเป็นเวลานานหลายปี เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิต้านทานโรคอ่อนแอ เช่น ป่วยมีความเครียด ติดเชื้อเอชไอวี เป็นมะเร็ง ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เชื้อก็จะแบ่งตัว จนเกิดเป็นงูสวัด
โรคนี้จะมีอาการรุนแรงขึ้น และระยะที่เป็นจะนานขึ้นตามอายุ มักจะเป็นเพียงครั้งเดียวในชีวิต เมื่อหายแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก ถ้าเกิดขึ้นที่กระจกตา (ตาดำ) อาจทำให้กระจกตาอักเสบ เป็นแผล ตาบอดได้ อาจพบอาการปวดประสาท หรืออัมพาตปากเบี้ยว หรือเส้นประสาทเป็นอัมพาตชั่วคราว
ในรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เช่น เอดส์ มะเร็ง ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น อาจเป็นงูสวัดชนิดแพร่กระจาย (จะมีตุ่มขึ้นอยู่นอกแนวเส้นประสาทที่เป็นมากกว่า 20 ตุ่ม) อาการมักจะรุนแรงและเป็นอยู่นาน อาจกระจายเข้าสู่ อวัยวะภายในอื่นๆ เป็นอันตรายร้ายแรงถึงตายได้
การรักษา
  1. ในรายที่อาการไม่รุนแรง ให้ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล ถ้าปวดแสบปวดร้อน ให้ทายาแก้ผดผื่นคัน หรือครีมพญายอ ขององค์การเภสัชกรรม ถ้าตุ่มติดเชื้อแบคทีเรียกลายเป็นหนอง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน อีริโทรมัยซิน เป็นต้น
  2. ถ้าขึ้นที่บริเวณหน้า หรือพบเป็นชนิดแพร่กระจาย (ออกนอกแนวเส้นประสาท) หรือพบในคนที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล
  3. ในภายหลังได้ในรายที่ขึ้นที่ตา นอกจากกินยาดังกล่าวแล้วควรปรึกษาจักษุแพทย์ อาจต้องใช้ยาป้ายตาอะไซโคลเวียร์ร่วมด้วย
  4. ในรายที่มีอาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด ซึ่งพบได้บ่อย มีลักษณะปวดลึกๆ แบบแสบร้อนตลอดเวลา หรือปวดแปลบๆ ปวดเสียวเป็นพักๆ ยิ่งอายุมากยิ่งปวดรุนแรง และเป็นนาน ควรพบแพทย์ ซึ่งมักให้พาราเซตามอล บรรเทาปวด ถ้าไม่ได้ผล จะให้รับประทานอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ช่วยลดปวดและช่วยให้หลับง่าย ยานี้มีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงนอน ปากคอแห้ง
  5. ผู้ป่วยควรรักษาสุขอนามัยและให้ร่างกายแข็งแรง หยุดพักผ่อนและอย่าเพิ่งไปในชุมนุมชน งดสุรา บุหรี่ ผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
  6. นำหัวมันเทศ ใบหรือหัวมหากาฬ ข้าวสาร อย่างละเท่าๆ กัน โขลกรวมกันให้ละเอียด พอกแผลไปจนแห้ง แล้วโขลกยาใหม่มาพอกแผล
  7. นำใบไมยราบมาโขลกให้ละเอียดแล้วผสมเหล้า ทาแผลบ่อยๆ
  8. ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมีย โขลกให้ละเอียด ผสมเหล้าทาบ่อยๆ
อ่านต่อ..

โรคเกลื้อน

อาการ มีลักษณะเริ่มแสดงอาการโดยมีจุดสีขาวหลายจุดอยู่โดยรอบรูขุมขน ในบริเวณที่เหงื่อออกมาก และ

มีไขมันสูงด้วย เช่น รักแร้ ซอกคอ หลังใบหน้า หน้าอก อวัยวะเพศ จากจุดเล็กหลายๆ จุดรวมตัวกันแผ่ขยายใหญ่ขึ้นเป็นแผ่นที่ไม่มีขอบเขต ซึ่งในคนผิวคล้ำแผ่นหรือผื่นจะมีสีขาว ในขณะที่คนผิวขาวจะมีผื่นสีน้ำตาล บางคนก็เป็นสีแดง โดยที่ไม่ค่อยมีอาการคัน เกลื้อน เกิดจากเชื้อรากลุ่ม มาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์ ติดต่อจากการคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคนี้

การรักษา เมื่อขูดผิวหนังบริเวณรอยโรคมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบเชื้อเกลื้อน รักษาด้วยการ
1. ทายา ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ
  • ยาน้ำทา อย่างเช่น 20% โซเดียมทัยโอซัลเฟต เหมาะกับผื่นเกลื้อนที่เป็นมากๆ
  • ยาฆ่าเชื้อราชนิดครีม ได้แก่ โคลไตรมาโซล ไมโครนาโซล ครีม เหมาะกับผื่นเกลื้อนที่เป็นบริเวณไม่กว้างมาก
2. ใช้สบู่ หรือแชมพู ที่มีส่วนผสมของสารคีโตโคนาโซล หรือสารเซเลเนียมซัลไฟด์ โดยใช้หลังจากอาบน้ำ ฟอกตัวให้สะอาดด้วยสบู่ธรรมดาตามปกติ เมื่อเสร็จแล้วอย่าเพิ่งเช็ดน้ำที่ติดบนผิวหนังออก แต่ใช้แชมพูยา ลูบไปทั่วบริเวณที่เป็นทิ้งไว้ 5 นาที แล้วจึงอาบน้ำล้างแชมพูออก อย่าปล่อยทิ้งแชมพูยาให้อยู่บนผิวหนังนาน เพราะอาจเกิดอาการระคายจากแชมพูยาได้
3. ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน จะใช้เฉพาะในรายที่เป็นมาก และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะยารับประทานอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ยายังมีราคาแพง ยารับประทาน เช่น คีโตโคนาโซล 200 มก. วันละ 1 ครั้ง 5 วัน หรือทานยาฆ่าเชื้อราร่วมด้วยต้องใช้เวลานาน 1-2 เดือน แต่ร่องรอยแผ่นเกลื้อนจะยังอยู่อีก 2-3 เดือน จึงจะมีสีผิวเป็นปกติเหมือนเดิม

สามารถใช้สมุนไพรรักษากลาก ได้ดังนี้
1. ให้ใช้ใบแมงลักสด 10 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นเอาน้ำมาทากลากน้ำนม วันละ 1 ครั้ง นาน 1 สัปดาห์
2. นำใบชุมเห็ดเทศ 3-4 ใบ มาตำให้ละเอียด เติมน้ำมะนาวนิดหน่อย ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง
3. ใช้เหง้าข่าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสด ตำแล้วแช่อัลกอฮอล์ ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน เช้า-เย็น
4. เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตกนำไปแช่เหล้าขาว ทิ้งไว้สัก 1 คืน เอามาทาถูแรงๆ บริเวณที่เป็นเกลื้อน จนพอแดง จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ทาเช้า-เย็น หลังการแช่เหล้า 1 คืน ทำให้ตัวยาออกมามากขึ้น
อ่านต่อ..

โรคกลาก

อาการ มีอาการคันที่รอยโรค ซึ่งมีลักษณะเป็นวงมีขอบเขตชัดเจนสีแดงเป็นขุยหรือเป็นตุ่มนูนใส หรือของเขต

อาจตกสะเก็ด ผิวหนังข้างใต้สะเก็ดจะมีสีแดง มีน้ำเหลืองไหลซึม ส่วนตรงกลางแผลเรียบเท่าผิวหนังปกติ กลากมักเป็นบริเวณอับชื้น เช่น แผ่นหลัง นิ้วเท้า รักแร้ หนังศีรษะ เป็นต้น แต่ก็ขึ้นได้ทั่วทุกแห่งของร่างกาย ถ้าเป็นที่ง่ามเท้าผิวหนังบริเวณง่ามเท้าจะเป็นแผ่นขาวยุ่ยๆ ลอกได้ และปริออกจากกัน มีกลิ่นเหม็นและคันมาก และมีการกระจายตัวไปยังบริเวณผิวหนังใต้นิ้วเท้า
เชื้อกลาก (เชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟท์) สามารถติดต่อเมื่อได้รับเส้นใยหรือสปอร์ของเชื้อกลากเข้าสู่ผิวหนัง ติดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง การคลุกคลีกับผู้ป่วย ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และติดจากเชื้อกลากที่อยู่ทั่วไปบนพื้นดิน การเดินย้ำน้ำสกปรก พบในสัตว์ต่างๆ ด้วย เช่น แมว สุนัข เป็นต้น
การรักษา รักษาด้วยการทายาฆ่าเชื้อราไมโคนาโซล หรือโคลไตรมาโซล หรือ คีโตโคนาโซล หากเป็นมากต้องทานยาฆ่าเชื้อราด้วย เช่น ไอทราโคนาโซล หรือคีโตโคนาโซล เป็นเวลานานหลายเดือน เมื่อกลากหมดไปแล้วยังต้องใช้ยาต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากลากจะไม่เจริญเติบโตขึ้นมาอีก
สามารถใช้สมุนไพรรักษากลาก เกลื้อนได้ ดังนี้
  1. ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้กลากเกลื้อน วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  2. ใช้ใบชุมเห็ดไทย ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงหรืออัลกอฮอล์เล็กน้อยพอแฉะๆ ทาบริเวณที่เป็น วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  3. ผสมผงขมิ้นกับน้ำ หรือเอาเหง้าสดๆ มาตำให้แหลก แล้วทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันจนหาย
  4. นำกระเทียมสดใหม่มาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นาน 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้า-เย็น เป็นประจำทุกวัน สารอัลลิซินในกระเทียมเป็นสารออกฤทธิ์ทำลายเชื้อกลาก เกลื้อน สารนี้สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อนและความชื้น การใช้กระเทียมเก่าที่เก็บไว้นานจะมีสารอัลลิซินเหลืออยู่น้อย
  5. ใบทองพันชั่งสด 6 ใบ ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนและกลาก หรือเอารากทองพันชั่ง 2-3 รากมาป่นแช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ เอาเหล้าแห้งที่แช่ไว้มาทา
อ่านต่อ..

โรคหูน้ำหนวก

อาการ รู้สึกเหมือนมีน้ำในหู มีหนองสีเขียวหรือสีเหลืองไหลออกมาจากรูหูชั้นกลาง บางคนมีไข้ วิงเวียน

ศีรษะ สูญเสียการทรงตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดในหูหรืออาจไม่เจ็บปวด ดึงใบหูแล้วไม่มีอาการเจ็บปวดมากขึ้น เวลาพูดเสียงดังจะรู้สึกเสียงก้องในหูดังมาก อาการเหล่านี้เป็นอย่างเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยหูน้ำหนวกมักมีการได้ยินลดลง เนื่องจากมีแก้วหูทะลุ คำว่า "น้ำหนวก" หมายถึงน้ำเมือกรวมกับน้ำมูก และการที่หูจะมีน้ำเมือกได้ต้องออกมาจากเยื่อบุหูชั้นกลางเท่านั้น
  • ถ้าเป็นหูน้ำหนวกแบบเฉียบพลัน มักพบร่วมกับการเป็นหวัดหรือการทำงานที่ไม่ปกติของท่อปรับความดันที่ต่อ ระหว่างหูชั้นกลางและคอ เชื้อโรคสามารถผ่านจากคอเข้าสู่หูทางท่อนี้ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในหูชั้นกลาง หนองที่เกิดขึ้นจะดันแก้วหูให้ทะลุและเป็นน้ำหนวกออกมาได้ จะมีอาการปวดก่อนมีน้ำหนวดไหลจากหู และเมื่อน้ำหนวกไหลออกมาแล้วอาการปวดมักจะลดลง เนื่องจากแก้วหูมีรูทะลุให้น้ำหรือหนองไหลออกมาได้ เมื่อได้รับการรักษาจนการอักเสบทุเลาลง แก้วหูที่ทะลุจะสามารถปิดเองได้
  • หูน้ำหนวกเรื้อรัง คือ มีแก้วหูทะลุอยู่แล้วมานานกว่า 3 เดือน แก้วหูไม่สามารถปิดได้เอง เวลามีการอักเสบมักไม่ค่อยมีอาการปวดหูมากแต่มีน้ำหนวกไหลออกจากหูชั้นกลาง แบ่งออกเป็นชนิดไม่อันตรายและชนิดอันตราย ที่มักจะมีน้ำหนวกที่มีกลิ่นเหม็นมาก และมักจะไหลไม่ค่อยหยุด ปัญหาแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ปวดหูมากเห็นภาพซ้อน ไข้สูง หน้าเบี้ยว หูหนวก มีฝีหลังหู ฝีึในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เวียนศีรษะ ซึมลง คอแข็ง และอาจเกิดอาการชักได้ หูน้ำหนวกเรื้อรัง มักจะมีแก้วหูทะลุอยู่ก่อนแล้ว เมื่อรับการรักษาทางยาทั้งยาหยอดหู และยากินจนอาการทุเลาลง ควรจะรับการผ่าตัดปิดเยื่อแก้วหูที่ทะลุ
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อโรคในหู มักเป็นกับคนที่ชอบว่ายน้ำ คนที่เป็นหวัดบ่อย มีโรคภูมิแพ้ ซึ่งเชื้ออาจเดินทางไปที่หูได้ง่ายกว่าคนทั่วไป อาการแทรกซ้อน บางรายเป็นอันตรายรุนแรงทำให้หูหนวกเพราะแก้วหูทะลุ บางรายมีก้อนเนื้อยุ่ยที่กัดกร่อนอวัยวะข้างเคียงและกระดูก ทำให้เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว และมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การรักษา ควรพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการหูน้ำหนวก แพทย์ซึ่งจะใช้เครื่องส่องตรวจหูพบแก้วหูอักเสบบวมแดง สีขุ่นทึบ มีหนองขับอยู่ มักให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทานยาแก้ปวด ในรายที่เป็นมากอาจต้องใช้เครื่องมือช่วยให้ของเหลวในหูไหลออกมา หรือใช้การผ่าตัด ระหว่างรักษาห้ามไม่ให้น้ำเข้าหู ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง และใช้สำลีชุบน้ำอุ่นพอหมาดๆ ซับเอาหนองออก
ป้องกันอย่าให้เป็นหูน้ำหนวก โดย
  1. ห้ามแคะหู เมื่อเป็นหวัดหรือโรคทางเดินหายใจ ซึ่งจะแพร่กระจายไปถึงหูได้ หรือโรคหู ให้รีบรักษาให้หาย
  2. ต้องป้องกันอย่าให้มีการอักเสบของหูชั้นกลาง โดยพยายามดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง อย่าให้เป็นหวัดบ่อย และไม่ไปในที่แออัด
  3. ถ้าเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรัง มีแก้วหูทะลุ แต่รักษาจนน้ำหนวกแห้งก็รับการผ่าตัดปิดแก้วหู แต่ถ้ายังไม่พร้อมจะรับการผ่าตัดปิดเยื่อแก้วหูก็ต้องพยายามอย่าให้น้ำเข้า หู อย่าใช้วัสดุแข็งแคะหู
  4. การป้องกันสำหรับทารกควรให้ดื่มนมแม่เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดี เวลาดูดนมควรให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว อย่าให้นอนดูดนมหรือหลับคาขวดนม
อ่านต่อ..

โรคตากุ้งยิง

อาการ มีตุ่มฝีขนาดเล็กที่ขอบเปลือกตา อาจมีบวมแดงด้วย ส่วนมากมีตุ่มเดียว แต่บางคนมีหลายตุ่ม และมี

อาการเจ็บปวดเล็กน้อย โรคนี้เกิดจากติดเชื้อเบคทีเรีย ทำให้ต่อมไขมันบริเวณฐานเกิดการอักเสบ มักพบในคนที่สุขอนามัยไม่ดี เช่น
  • เด็ก ซึ่งดูแลตนเองไม่เป็น
  • เปลือกตาไม่สะอาด และมีการขยี้ตาบ่อยๆ
  • ใช้เครื่องสำอางแล้วล้างออกไม่หมด
  • ใส่หรือถอดคอนแทกเลนส์ด้วยมือไม่สะอาด
การรักษา หากเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องทำอะไร ช่วงเวลาก่อนที่ฝีจะแตก เวลาปวดให้ใช้การประคบน้ำร้อนคือ ใช้ผ่าชุบน้ำร้อนประคบนาน 15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อลดการอักเสบบวม ทำให้ยุบลงและลดปวด หรือรับประทานยาแก้ปวด อย่างเช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้นได้
หากอาการทุเลาได้ยากต้องใช้ยาปฏิชีวนะป้ายตา หรือหยอดตานาน 3-5 วัน หากเป็นบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ อาจต้องทานยาปฏิชีวนะ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้การรมด้วยไอน้ำที่ความร้อนไม่สูงนัก วันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดบวม และใช้เนื้อขมิ้นอ้อยล้างให้สะอาดแล้วทาบริเวณที่เป็นเพื่อฆ่าเชื้อโรคและลด การอักเสบ
เมื่อรักษาแล้วฝีหนองจะแตกออก ตุ่มยุบลงเองภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้ายังมีหนองอยู่ มันจะกลายเป็นเป็นเนื้อแข็งคล้ายตุ่มเนื้องอก
 
อ่านต่อ..

โรคเริมที่ตา

อาการ เชื้อไวรัสเริม หากกระจายไปถึงบริเวณตาด้วยนิ้วที่เพิ่งสัมผัสโดนแพลเริมจากปาก หรือจากส่วนอื่น

ของร่างกาย จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบตาพร่า ตามัว หรือตาแดง ปวดตา มีหนองหรือน้ำตามากบริเวณเปลือกตาไม่หายภายใน 1 สัปดาห์ และมีตุ่มเล็กๆ อยู่เป็นกลุ่มที่เปลือกตาหรือส่วนอื่นของตา โดยเฉพาะการเป็นแผลเริมขึ้นที่ตาดำจะทำให้ตาขุ่นมัว เคืองตา ตาสู้แสงไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาจากจักษุแพทย์ทันท่วงที ก็อาจเกิดเป็นแผลเป็นของกระจกตาหรือถึงกับตาบอดได้

การรักษา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที มักต้องใช้ขี้ผึ้งป้ายตาอะไซโคลเวียร์ชนิด 3% ป้ายตาทุก 2-3 ชั่วโมง ในสัปดาห์แรก และป้ายต่ออีกราว 1 สัปดาห์ ยาชนิดนี้เป็นยาต้านไวรัส ซึ่งใช้รักษาได้ผลดี ห้ามหายามาหยอดด้วยตนเอง เพราะถ้ามีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสมจะทำให้แผลขยายกว้างและลุกลามลึกเข้าไปจนตา เสีย
ผู้ที่เคยมีแผลเริมมาก่อน ควรดูแลตนเองให้สุขภาพแข็งแรง อย่าให้เครียดอย่าให้เป็นหวัดบ่อย เพราะเชื้อเริมที่ซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาท จะออกมาเมื่อร่างกายอ่อนแอและมีความเครียด
อ่านต่อ..

โรคเริมที่ผิวหนัง

อาการ มักจะมีอาการแสบๆ คันๆ ผิวหนังนำมาก่อนเล็กน้อย แล้วมีตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กัน

เป็นกลุ่มโดยรอบจะเป็นผื่นแดง ต่อมากลายเป็นตุ่มขุ่นเหลือง แตกออกและตกสะเก็ด คันเล็กน้อย อาจหายไปเอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ ลักษณะของตุ่มใสที่อยู่กันเป็นกลุ่มแบบนี้ชาวบ้านบางแห่งจึงเรียกโรคนี้ว่า 'ขยุ้มตีนหมา'
เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัส เฮอร์ปีส์ ซิมเพลกซ์ ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วย จากคนไปสู่คน แผลเริมมักเป็นแขน ขา ที่ริมฝีปาก และในช่องปากหน้าผาก และที่อวัยวะสืบพันธุ์ โรคเริมพบได้ในคนทุกวัย และมักเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง โดยที่เชื้อเริมมี 2 ชนิด ชนิดแรกจะขึ้นที่ท่อนบนของร่างกาย ชนิดที่สองจะขึ้นที่อวัยวะสืบพันธุ์หรือช่วงล่างของร่างกาย หากติดเชื้อชนิดแรกมีอย่างเดียว ผู้ป่วยจะมีแผลเริมเฉพาะท่อนบนนั้น
จากนั้นเชื้อไวรัสเริมจะหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาทใต้ผิวหนัง เมื่อผู้ป่วยมีความเครียดหรือร่างกายอ่อนแอ มีไข้ มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ เชื้อจะแสดงอาการออกมาอีกคือ เกิดแผลเริมขึ้นมาเฉลี่ยปีละ 2-4 ครั้ง โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมากำจัดเชื้อโรคเริมออกไปหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี
สำหรับโรคเริมที่อวัยวะเพศ ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งติดต่อโดยการร่วมเพศกับคนที่เป็น โรคนี้อยู่ก่อน มีระยะฟักตัว 4-7 วัน จะเกิดแผลเริมที่อวัยวะเพศ ในผู้ชาย อาจขึ้นที่หนังหุ้มปลายองคชาต หรือที่ตัวองคชาต ส่วนผู้หญิงจะขึ้นที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือที่ปากมดลูก ต่อมาตุ่มใสจะแตกกลายเป็นแผล ถลอกและมีอาการเจ็บ จากนั้นแผลจะค่อยๆ หายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็นหลงเหลือ ผู้ป่วยจะมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตและเจ็บด้วย และการเป็นโรคเริมที่อวัยะเพศบ่อยๆ จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าปกติ

การรักษา ถ้าปวดหรือมีไข้ ให้ทานยาพาราเซตามอล ถ้ารู้สึกแสบๆ คันๆ ให้ทาด้วยยาแก้ผดผื่นคัน ห้ามใช้ยาทาพวกสเตียรอยด์ อาจทำให้แผลลุกลาม หายยาก ทางที่ดีควรพบแพทย์หรือซื้อยาครีมพญายอมาทา หรือใช้สมุนไพรพื้นบ้าน อย่างเช่น ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ ทาบ่อยๆ หรือใช้ใบพญายอ โขลกให้ละเอียด ผสมเหล้าพอกแผล วันละ 3-4 ครั้ง ไม่กี่วันแผลก็จะหายไป
สำหรับเริมบริเวณอวัยวะเพศ ที่เพิ่งเป็นครั้งแรก และมีอาการไม่เกิน 5 วันให้พบแพทย์ ซึ่งมักได้ยาชนิดรับประทาน ชื่อยาเม็ดอะไซโคลเวียร์ 200 มก. ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง (เว้นช่วงนอนหลับตอนกลางคืน) นาน 5-10 วัน ส่วนการใช้ครีมอะไซโคลเวียร์ ขนาด 5% ทาแผลเริมวันละ 4 ครั้ง นาน 5-7 วัน ก็ใช้ได้
ผู้ป่วยควรรักษาภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับเพียงพอ ไม่เครียด
อ่านต่อ..

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส

อาการ ตาขาวมีลักษณะเป็นปื้นสีแดง เคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง ไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาบวมเพียงเล็กน้อย

ต่อมน้ำเหลืองที่หน้า หูมักจะบวมโต อาการมักเริ่มเป็นที่ดวงตาข้างเดียวก่อนแล้วจึงลามไปอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยบางรายตาแดง พร้อมกับกับมีไข้และคออักเสบ เกิดจากติดเชื้อไวรัสตาแดง มักระบาดในโรงเรียนในช่วงฤดูหนาว และระบาดอย่างรวดเร็วเพราะติดต่อกันง่าย ในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัสอะดิโนจะทำให้มีอาการรุนแรง เชื้อเข้าไปเกาะติดที่แก้วตาทำให้อักเสบ ตามัว ปวดตาต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ สำหรับเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน คางทูม และโรคเริม ก็ทำให้เกิดเยื่อตาอักเสบ ตาแดงได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้ควรรีบรับการรักษาก่อนจะมีการแพร่กระจายเชื้อ ไปที่ตา

การรักษา ผู้ป่วยควรได้หยุดงาน หยุดเรียน พักผ่อนอยู่ที่บ้านเพื่อดูแลตนเองและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เด็กที่ป่วยควรมีเครื่องมือหรือผ้ากอซปิดตาข้างที่เป็นเพื่อป้องกันเด็กขยี้ ดวงตา ซึ่งเป็นนิสัยของเด็กส่วนใหญ่ที่พอคันตาก็มักจะขยี้ตา และยังช่วยป้องกันแมลงหวี่ตอมด้วย พอเวลานอนค่อยถอดออกไวรัสตาแดงที่ได้รับการดูแล พักผ่อน จะหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์
อ่านต่อ..

โรคไวรัสตับอักเสบ

อาการ หลังได้รับเชื้อโดยประมาณ 45-90 วัน จะมีอาการอ่อนเพลียกว่าทุกวัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน

มีไข้ต่ำๆ คล้ายคลึงกับไข้หวัด ถ่ายเหลวเป็นเวลา 4-7 วัน จากนั้นอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียนลดลง แต่จะเริ่มถ่ายปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ตาเหลืองและตัวเหลืองเป็นเวลา 2-6 สัปดาห์ ร่วมกับอาการคันตามผิวหนัง จุดเสียดลิ้นปี่ ตับโต ม้ามโต แสดงว่าเป็น "ไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน" ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีลักษณะการดำเนินของโรคแบบนี้ร้อยละ 90

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่มักจะบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีเชื้ออาจจะอยู่นิ่งเป็นปีๆ โดยผู้ที่มีเชื้อไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย เชื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ตับ ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายตับ เชื้อนั้นติดต่อทางเลือด น้ำลาย สิ่งคัดหลั่ง ได้หลายทาง
  • เพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง
  • การจูบกันจะไม่ติดต่อถ้าปากไม่มีแผล
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ใช้เข็มสัก หรือการเจาะหูที่ใช้เครื่องมือร่วมกัน
  • มีดโกน ที่ตัดเล็บใช้ร่วมกัน
  • แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด ลูกมีโอกาสได้รับเชื้อร้อยละ 90
  • โดยการสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ที่มีเชื้อ โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
หลายคนที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยไม่มีอาการผิดปกติ มีประมาณร้อยละ 5-10 จะกลายเป็นพาหนะมีเชื้อแฝงอยู่ในตัวคอยแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ชิด ในบางคนที่อาการดีซ่านหายช้า และยังคงมีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหารเป็นประจำ ตับทำงานได้น้อยลง ฮอร์โมนต่างๆ เปลี่ยนไป ฝ่ามือแดงจัด เส้นเลือดที่ผิวหนังบริเวณคลอและหน้าอกขยายใหญ่ มองดูคล้ายแมงมุม แสดงว่าเป็น "โรคตับอักเสบเรื้อรัง" ผู้ป่วยกลุ่มนี้เจาะเลือดจะพบการทำงานของตับผิดปกติเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และยังตรวจพบเชื้อตลอด มีการอักเสบของตับเป็นระยะๆ บางรายมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย มะเร็งตับ

การรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย มีการเจาะเลือดหาเชื้อ (Hbs Ag+) ตรวจเลือดดูการทำงานของตับและตรวจปัสสาวะ ซึ่งสามารถระบุได้ว่ามีความรุนแรงเพียงใด ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรง ออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา ผู้ป่วยเพียงแต่พักผ่อน รับประทานอาหารเหลวซึ่งย่อยง่าย ดื่มน้ำหวานผลไม้ซึ่งดูดซึมได้ง่าย ช่วยให้ร่างกายหายจากอ่อนเพลีย ควรหลีกเหลี่ยงอาหารไขมันสูงในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
ในรายที่อาการมากอาจจะให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำ ให้ยาแก้คลื่นไส้วิตามิน หากดูแลตนเองดีตั้งแต่เริ่มแรกที่ป่วย ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาทำลายเชื้อโรคให้หมดไป ส่วนคนที่ป่วยแล้วไม่ได้พักผ่อน รับประทาานอาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายจะอ่อนแอมาก ทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะมีการตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายและทุกคนก่อนที่จะแต่งงาน ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบก่อน
อ่านต่อ..

โรคเอดส์

อาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก เมื่อมีเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายและส่วนใหญ่ร่างกายสร้างแอนตี้บอดี

ให้ตรวจพบได้ ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาใหม่ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง ระยะนี้ยังไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการเป็นอยู่ไม่นาน และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ เลย
ระยะที่สอง จะเริ่มมีอาการ หรือเรียกว่า ระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ จากมีไข้ต่ำๆ เป็นประจำ ท้องเสียอย่างเรื้อรัง เหงื่อออก ปวดเมื่อย เป็นผื่นแผลตามร่างกาย มีแผลหรือเชื้อราในช่องปากและลำคอ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักตัวลดลงเรื่อยๆ เชื้อเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ที่มีชื่อว่า ซีดีโฟร์ (CD4) เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ลดต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน และเกิดอาการของโรคติดเชื้อ ฉวยโอกาสแทรกซ้อนได้ง่าย โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.
ระยะเอดส์เต็มขั้น ซึ่งจะมีรูปร่างผอมมาก ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงไปมาก จำนวนเม็ดเลือดขาวเหลือน้อย การติดเชื้อแทรกซ้อนมีเป็นประจำ อย่างเช่น ติดเชื้อวัณโรค เชื้อราตามร่างกายเป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่างกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆ และเป็นมะเร็งบางชนิดอย่าง เช่น คาโปซีซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma) และมะเร็งปากมดลูก วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) โดยส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนการติดต่อทางอื่นมีน้อย อย่างเช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ทารกได้รับเชื้อเอดส์จากมารดาผ่านทางรกยังเป็นสาเหตุรอง ส่วนการได้รับเชื้อจากเลือด ส่วนประกอบของเลือด หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อนั้นพบได้น้อยมาก โดยนอกจากมีการตรวจสอบในเลือดผู้บริจาคแล้ว ยังไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น และไม่รับเลือดจากกลุ่มผู้บริจากซึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยง
ผู้ที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์ ไดแก่
  • ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
  • ผู้ที่ตัดสินใจจะแต่งงาน
  • สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนด้านสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องไปทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น
การรักษา โรคนี้วินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอดส์ ซึ่งทำได้ง่ายกว่าการตรวจหาเชื้อโรคเอดส์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงแล้วต้องการทราบควรตรวจภายหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง 6 สัปดาห์ขึ้นไป ขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายได้ ผู้ป่วยต้องทานยาต้านไวรัสทุกวันไม่ให้เชื้อแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อลดปริมาณไวรัสในเลือดให้น้อยที่สุดและควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับ ต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อราในปาก ฯลฯ แพทย์จะทำการรักษาโรคเหล่านั้นด้วย ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และดูแลตนเองไม่ให้ติดเชื้ออื่นๆ ทุกชนิด
ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดในโลกประสบความสำเร็จในการวิจัยวัคซีนป้องกันโรค เอดส์ ในประเทศไทยกำลังมีการทดลองวัคซีนเอดส์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และระยอง โดยอาสาสมัคร 16,400 คน มีอายุระหว่าง 18-30 ปี ใช้วัคซีนแบบปูพื้นกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันในเซลล์ซึ่งเริ่มมา หลายปีแล้ว และจะสรุปผลในปลาย พ.ศ. 2552
อ่านต่อ..

โรคไข้มาลาเรีย

อาการ หลังติดเชื้อจากยุงก้นปล่อง (อาศัยอยู่ในป่าเท่านั้น) ประมาณ 14 วัน จะเริ่มมีไข้เล็กน้อยอยู่ 2-3 วัน
เบื่ออาหาร อาจมีอาเจียน ง่วง ปวดกระดูก ปวดศีรษะ ต่อมาจึงมีไข้สูง หนาวสั่น เรียกว่า มีอาการจับสั่น บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว หน้าแดง อาจถึงกับเพ้อไข้ เป็นระยะที่มีเม็ดเลือดแดงแตก อาจจะนานถึง 2 ชั่วโมง เมื่อไข้สูงเริ่มลดลงจะมีเหงื่อออก กระหายน้ำ ความร้อนลดลง อาการต่างๆ ทุเลาลงเป็นปกติ จากนั้นก็จะเริ่มจับไข้หนาวสั่นอีกทุก 48 ชั่วโมง หรือทุก 72 ชั่วโมง แล้วแต่สายพันธุ์ของเชื้อ มาลาเรียทุกชนิด มีอาการ 3 ระยะ เหมือนกัน คือ อาการนำ อาการไข้อาการพัก
1.อาการนำ หลังจากที่คนได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย จะเกิดอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัวคล้ายไข้หวัด ปวดหัว ปวดเมื่อย เป็นอยู่นาน 2-3 วัน ต่อมาจะเข้าสู่อาการไข้
2.อาการไข้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
  • ระยะหนาว จะมีอาการหนาวสั่นสะท้่าน ห่มผ้าไม่หายหนาว ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเกร็ง ปัสสาวะบ่อย อุณหภูมิค่อยๆ สูงขึ้นระยะนี้จะใช้เวลา 15-60 นาที เป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
  • ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ตัวร้อน ลมหายใจร้อน หน้าแดง ปากซีด และกระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็วและแรง ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา ระยะนี้ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง
  • ระยะเหงื่อออก เมื่อสร่างไข้ ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออก และเข้าสู่ภาวะปกติระยะเหงื่อออก ใช้เวลา 2-4
3.อาการพัก ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนคนปกติ แล้วจะค่อยๆ เกิดระยะหนาวสั่นจับไข้ใหม่ โดยอาจเกิดทุกวัน วันเว้นวัน หรือวันเว้น 2 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ
สาเหตุ เกิดจากติดเชื้อโปรโตซัวมาลาเรีย ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่แต่ในป่าเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในเมืองหรือทุ่งนาแต่อย่างใด จึงมักพบโรคไข้ป่ากับคนที่เข้าป่ามาก่อน โรคมาลาเรีย เรียกอีกชื่อว่า ไข้จับสั่น ไข้ป่า และมีอีกหลายๆ ชื่อตามท้องถิ่นที่ใช้เรียก ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะดำ ไตล้มเหลว ปอดบวมน้ำ ซึ่งภาวะเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีิวิตได้
  • ถ้ามีมาลาเรียลงตับ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
  • หากมาลาเรียลงไตจะทำให้ไตไม่ทำงาน
  • ถ้าเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ทำให้สมองอักเสบ
ชนิด ไวแวกซ์ และ มาเลริอี มีอาการแทรกซ้อนน้อยมาก แต่เชื้อนี้มักจะก่อให้เกิดอาการเรื้อรัง
ชนิด ฟาลซิพารัม มักจะมีอาการไข้ขึ้นสมอง เชื้อลงตับ มีอาการบวมน้ำ ไตวาย และช็อก เชื้อชนิดนี้พบได้บ่อยมากในประเทศไทย
การรักษา 
ควรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการไข้จับจนหนาวสั่น จนสงสัยว่าจะเป็นไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะหากมีประวัติเข้าป่ามาก่อน แต่หากไม่เคยเข้าป่า แทบจะไม่ต้องนึกถึงไข้มาลาเรียเลย การวินิจฉัยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและให้ตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือด หากมีจริงต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ อย่างเช่น คลอโรควิน ไพรมาควิน เป็นเวลานาน ผู้ป่วยควรทานยาตามอย่างเคร่งครัด เพราะพบว่าเมื่อทานยาไม่ครบทำใ้ห้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ปัจจุบันนี้เชื้อดื้อยามาก
การป้องกัน 
เมื่อต้องเข้าไปในป่าที่มียุงก้นปล่องอาศัยอยู่ ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด สวมเสื้อผ้ามิดชิด ทายากันยุงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ที่มีตัวยาชื่อย่อว่า DEET ซึ่งปกติป้องกันได้ 4-8 ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของยากันยุง และขึ้นอยู่กับสภาพลม ถ้าลมแรงจะป้องกันได้ไม่นาน เนื่องจากยาระเหยออกไปได้เร็วขึ้น เวลานอนให้กางมุ้ง สำหรับการทานยาป้องกันก่อนเข้าป่านั้น ไม่ควรทำ เนื่องจากพบว่ายุงมีการดื้อยา และยาจะไปกลบอาการป่วยไม่ให้แสดงออกมาชัดเจน ทำให้ยากต่อการวินิจฉัย

อ่านต่อ..