โรคหัด

อาการ เริ่มจากมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ หน้าแดง ตาแดง ตาแฉะ น้ำตาไหล และกลัวแสงสว่าง อาการต่างๆ จะ

มากขึ้น ต่อมทอนซิลบวมโต มีสีแดง ปลายขอบลิ้น มีสีแดงบริเวณตรงกลางมีฝ้าขาว วันที่ 2 หลังจากมีไข้จะมีจุดขาวเหลือง ขนาดเท่าเมล็ดงาที่กระพุ้งแก้มใกล้ฟันกรามล่าง ซึ่งช่วยวินิจฉัยโรคหัดได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้นประมาณวันที่ 3-4 มีไข้สูงสุด ทานยาลดไข้ไม่ค่อยได้ผล อาการต่างๆ จะยิ่งรุนแรงและผื่นแดงเท่าหัวเข็มหมุด ขึ้นที่ตีนผมและลำคอ แล้วลามไปที่ใบหน้าและลำตัว อาจมีอาการคันบ้างเล็กน้อย
หลังเริ่มมีผื่นประมาณ 2 วัน ต่อมาไข้ลดลง ผื่นจะค่อยๆ จางหายไปใน 4-7 วัน บริเวณที่เป็นผื่นกลายเป็นรอยแต้มสีดำและจางหายไป บางคนอาจมีหนังลอก
โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสหัด ติดต่อโดยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน ระยะฟักตัว 9-11 วัน
การรักษา ส่วนใหญ่รักษาด้วยตนเองทานยาแก้ไข้ นอนพักผ่อน ทำตัวให้อบอุ่น อาการจะหายไปภายใน 7-10 วัน ในเด็กจะมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงควรพาเด็กไปพบแพทย์ ซึ่งให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ หูอักเสบ หูอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และให้อาหารอ่อนที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ให้วิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้วิตามินเอแก่เด็กที่เป็นหัดทุกรายในพื้นที่มี เด็กขาดวิตามินเอสูง
โรคแทรกซ้อน อาจมีโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสชนิดอื่นด้วย ทำให้เกิดโรคปอดบวม อุจจาระร่วง สมองอักเสบ หูชั้่นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เยื่อตามขาวอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยมากในเด็กเล็กที่อยู่ในสภาพยากจนอยู่ในชุมชนแออัด ควรรีบพาไปพบแพทย์
การป้องกัน เด็กจะได้รับวัคซีนเมื่ออายุได้ 9-15 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ในรูปของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) สามารถป้องกันโรคได้ตลอดไป
อ่านต่อ..