ไข้กาฬหลังแอ่น


อาการ หลังได้รับเชื้อ 3-4 วัน จะมีอาการไข้สูงแบบเฉียบพลัน ตัวหนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องและ
ปวดแขน ขา คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ชัก กระตุกหลังแอ่นและปวดหลัง ความดันโลหิตต่ำ อาจมีผื่นเลือดออกหรือจ้ำตามตัวขนาดใหญ่สีม่วงเข้ม (ผื่นหายไปเองภายใน 3-4 วัน) มีจุดเลือดออกที่ตาและเยื่อจมูก มีอาการเพ้อคลั่ง จนถึงหมดสติโดยที่ยังตัวร้อนเป็นไข้
·        อาการที่พบในเด็ก คือ ไข้สูง อาเจียน ไม่ดูดนม เด็กจะซึมเซา ปลุกไม่ตื่น มีผื่นเลือดออกตามตัวและแขน ขา ผิวซีด
·        อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น คือ ไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ คอแข็ง อาจมีหลังแอ่น ซึมอง มีผื่นเลือดออกตามแขนขา ทนแสงสว่างจ้าไม่ได้
·        อาการหากมีโลหิตเป็นพิษ คือ ไข้สูง หมดสติ ความดันเลือดต่ำ มีผื่นเลือดออกตามตัว
สาเหตุ เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย เมนิงไจทิดิส ติดต่อกันทางไอ จามรดกัน ทางน้ำลาย ทางเสมหะ เชื้อเข้าสู่น้ำเหลือง กระแสเลือด กระจายสู่อวัยวะต่างๆ ปอด หัวใจ เยื่อหุ้มสมอง ตามข้อกระดูก หู ตา ผิวหนัง เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายร้ายแรงถึงเสียชีวิตค่อนข้างมาก แม้ว่าจะให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ส่วนในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีอาการปวดตามข้อนานนับเดือน อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่แข็งแรงพบว่ามีร้อยละ 20 ที่ติดเชื้อชนิดนี้โดยไม่มีอาการป่วยเลย
ลักษณะของการติดเชื้อมีหลายแบบ คือ

  •     การติดเชื้อธรรมดา
  • ·        เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3 ในรายที่มีการอักเสบลุกลามลงมาตามไขสันหลังก็จะมีอาการตัวเกร็ง หลังแอ่น คล้ายกับโรคบาดทะยัก จึงเป็นที่มาของคำว่า "หลังแอ่น"
  • ·        โลหิตเป็นพิษ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50

เมื่อติดเชื้อไปทางหายใจแล้วจะมีการเพิ่มจำนวนในลำคอ ในบางรายเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเกิดโลหิตเป็นพิษ จากนั้นไปยังเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ หูหนวก พบได้ร้อยละ 10 บางรายเกิดโรคลมชัก บางรายเป็นข้ออักเสบ พบได้บ่อยมักเป็นหลายๆ ข้อ และบางรายเป็นปอดอักเสบ โรคนี้พบมากในเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน วัยหนุ่มสาว และคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว หลังติดเชื้อจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ปลายหลอดเลือดเป็นจำนวนนมาก ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจะมีผื่นเลือดออกตามผิวหนัง ในรายที่รุนแรงจะมีเลือดออกในลำไส้และต่อมหมวกไต รวมทั้งภาวะที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มทั่วร่างกาย จนเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตใน 2-3 วัน

โรคนี้พบมีการระบาดทั่วไปในประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่างเช่น ซาอุดิอารเบีย และทวีปอัฟริกา อเมริกา และในประเทศแถบเอเชีย เช่น พม่า กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ในประเทศไทยมีรายงานพบโรคนี้ประปรายทุกปี โดยมีการระบาดในนักโทษและเสียชีวิต 1-2 ราย
การรักษา เมื่อมีอาการน่าสงสัย ไม่ต้องรอให้ผื่นขึ้น ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และให้
  • ·        ตรวจเลือด (CBC) พบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น จำนวนเกล็ดเลือดลดลง
  • ·        เพาะเชื้อจากเลือด จากน้ำไขสันหลัง หรือจากผิวหนัง
  • ·        การตรวจน้ำไขสันหลัง จะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
ในรายที่รุนแรงจะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ เช่น เพนนิซิลลิน อีริโทรมัยซิน ไรแพมซิน เป็นต้น และรักษาตามอาการ ผู้ป่วยที่หายจากโรคยังคงมีอาการของประสาทที่ถูกทำลายไประหว่างรักษาวันแรกต้องแยกออกจากผู้ป่วยคนอื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
การป้องกัน ในผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคนี้จะได้รับยาป้องกัน เป็นยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโรค
คนที่มีเชื้อในปริมาณไม่มาก ไม่แสดงอาการป่วยซึ่งกลายเป็นพาหะนำเชื้อโรคนี้สู่คน พบว่านอกจากเด็กแล้วคนที่ควรระวังคือ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ โรคแพ้ภูมิตนเอง เป็นต้น ซึ่งควรระวังในการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ ช้อน จานร่วมกับคนอื่น เป็นต้น
สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันนั้นใช้ได้กับบางสายพันธุ์เท่านั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าในท้องที่ซึ่งจะไปนั้นมีเชื้อสายพันธุ์ใดระบาดอยู่ เช่น การไปประเทศตะวันออกกลางและมีวัคซีนสายพันธุ์ในท้องถิ่นนั้นป้องกันหรือไม่ ปกติแล้วหลังฉีดจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ไม่เกิน 3 ปี ภูมิคุ้มกันจะเริ่มขึ้นในวันที่ 7-10 วัน
อ่านต่อ..

ไข้เลือดออก

อาการ หลังได้รับเชื้อไข้เลือด 3-15 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน (ไข้สูง 39-40ซ.) นาน 3-6 วัน

ไม่มีน้ำมูกไหล ซึ่งแตกต่างไปจากไข้หวัด อาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย คือ ท้องผูกหรือท้องเสีย เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดศีีรษะ หรือปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ซึ่งอาจปวดบริเวณลิ้นปี่และชายโครงขวา ซึ่งเป็นบริเวณของตับ
ส่วนมากจะไม่มีอาการจุดเลือดออกตามตัว ถ้ามีเยื่อบุตาล่างสีแดงจัด มีจุดเลือดออกทั่วร่างกายแสดงว่าเป็นไข้เลือดออกอย่างรุนแรง หากรุนแรงมากจะมีอาการกระสับกระส่าย ความดันโลหิตต่ำ บางรายมีเลือดกำเดาออก บางรายมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจหมดสติได้
แบ่งการดำเนินโรคออกเป็น 3 ระยะ คือ
1.ระยะไข้สูง ไข้สูงลอยตลอดเวลา (ทานยาลดไข้ก็มักจะไม่ลด) หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ซึม เบื่ออาหาร และอาเจียนร่วมด้วยเสมอ ปวดท้องในบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา หรือปวดท้องทั่วไป ส่วนมากจะไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอมาก ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดง ไม่คัน ขึ้นตามแขน ขา และลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 วัน การทดสอบทูร์นิเคต์ในระยะนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลบวกตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้ ถ้าไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากไข้ก็จะลดลงในวันที่ 5-7 วัน และหายจากโรค แต่ถ้าเป็นมากก็จะเข้าสู่ระยะที่ 2
2.ระยะช็อกและมีเลือดออก พบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรง อาการจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3-7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤติ โดยไำข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการทรุดหนัก มีอาการปวดท้อง และอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือและเท้าเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว และความดันเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก อาจเสียชีวิตได้ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ จนเสียชีวิต ถ้าหากผู้ป่วยไม่เสียชีวิตก็เข้าสู่ระยะที่ 3
3.ระยะที่ 3 ทุเลาลง จะมีอาการทุเลาลงอย่างรวดเร็ว เริ่มอยากทานอาหาร จากนั้นจะกลับมาสู่สภาพปกติ รวมเวลาตั้งแต่เริ่มมีไข้ประมาณ 7-10 วัน
สัญญาณอันตรายของไข้เลือดออก คือ
  • กระสับกระส่าย หรือซึมมาก
  • ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
  • อาเจียนมาก
  • มือ เท้าเย็นชืด มีเหงื่อออกและท่าทางไม่สบายมาก
  • หายใจหอบและเขียว
  • มีจ้ำเลือดตามตัวหลายแห่ง
  • มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถ้าพบอาการดังกล่าวเพียงใดอย่างหนึ่ง ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

สาเหตุ ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ
  • ไวรัส เด็งกี (Dengue) มีมากประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก
  • ไวรัส ชิกุนคุนยา (Chigunkunya) มีน้อย ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10 โดยหากเป็นการติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งแรก อาการจะไม่รุนแรง หลังติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้่มกันต่อเชื้อต้นเหตุนั้น แต่หากติดเชื้อชนิดนี้เป็นครั้งที่ 2 จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดการเสียเลือดและช็อกเสียชีิวิตได้

ไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียซึ่งออกดูดกินเลือดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออก เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุงตลอดชีวิตของมัน คือ 1-2 เดือน ช่วงนี้ยุงก็สามารถแพร่เชื้อให้คนที่ถูกยุงกันได้ทุกครั้งไป
การรักษา ควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก 1 วัน ไข้ยังไม่ลด เมื่อเจาเลือดตรวจพบว่ามีเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ อาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา ทำได้เพียงรักษาตามอาการ หากมีอาการรุนแรงจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงแพทย์จะให้กลับไปพักผ่อน ดูแลอาการที่บ้าน หากรุนแรงจึงไปพบแพทย์ใหม่ ควรกำจัดยุงรอบบ้านให้หมดสิ้นไปและป้องกันไม่ให้ยุงกัด
อ่านต่อ..

โรคไข้สมองอักเสบเจอี


โรคไข้สมองอักเสบเจอี
อาการ หลังจากคนโดนยุงที่มีเชื้อเจอีกัด 7-10 วัน จะเริ่มแสดงอาการ (มีเพียง 1 ใน 300 คนเท่านั้น) ไข้สูง
ปานกลาง ปวดศีรษะมาก และเวียนศีรษะ คอแข็ง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กล้ามเนื้อเกร็ง แข็ง หรือชักกระตุก คอแข็ง ง่วงซึม อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่นานนับสัปดาห์ ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว ในเด็กที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาต แขนและขาชัดเกร็ง หมดสติ และมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่คนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด
แต่ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะเสียชีวิตในวันที่ 7-9 ของโรค บางคนมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบเท่านั้น คือ คอแข็ง กล้ามเนื้อขาปวดตึง ง่วงซึม แต่ไม่มีอัมพาต และไม่หมดสติ เมื่อรักษาหายจะกลับมาเป็นปกติ บางรายเป็นอย่างเรื้อรัง อาการแสดงจะค่อยเป็นค่อยไป อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ การดำเนินโรคช้า แต่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสเจแปนนิส เอนเซฟาไลติส หรือเรียกย่อว่า เจอี ถ่ายทอดได้จากคน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงพบระบาดมากในแหล่งที่มีการเลี้ยงสัตว์ โดยมียุงเป็นพาหะเชื้อมาสู่คน ไม่มีการแพร่โดยตรงจากคนไปสู่คน ไม่มีการแพร่โดยตรงจากคนไปสู่คน ในเด็กมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เชื้อเจอีอาศัยอยู่ในสัีตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง หมู แพะ หนู นก ค้างคาว ไก่ เป็ด โดยไม่ทำให้สัตว์มีอาการผิดปกติ จึงเป็นแหล่งกระจายเชื้อซึ่งระบาดในท้องถิ่นภาคเหนือ มีแต่คนและม้าเท่านั้นที่ได้รับเชื้อแล้วแสดงอาการป่วย
การรักษา ควรไปพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการไข้ ปวดศีรษะ อาเจียนบ่อย ง่วงซึม หรือมีอาการชัก ซึ่งจะมีเพื่อหาสาเหตุของโรค เช่น ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (anti-JE IgM) เป็นต้น โดยเจาะ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ตรวจคลื่นสมอง ตรวจน้ำไขสันหลัง หากไม่พบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเจอี แล้วมีอาการทางสมอง มักต้องทำการเจาะหลัง (lumbar puncture) เพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง ค้นหาสาเหตุของโรคที่มีอาการใกล้เคียงกัน เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเจาะหลังเพื่อการรักษาลดความดันในสมอง เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ อย่างเช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาแก้ชัก เช่น ไดอะซีแพม เป็นต้น ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเหน็บทางทวารหนัก ถ้ามีภาวะขาดน้ำให้น้ำเกลือชดเชยน้ำที่เสียไป ผลการรักษาขึ้นอยู่กับว่าไปพบแพทย์เร็วและวินิจฉัยได้
  • ·        สำหรับคนที่มีอาการไม่รุนแรง จะหายเป็นปกติได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
  • ·        ถ้ารุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ มีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 25 ภายใน 1 สัปดาห์
  • ·        ผู้ที่มีอาการรุนแรง หากรอดชีวิตมักมีความพิการ หรือผิดปกติทางสมองตามมา เช่น นอนนิ่งๆ ได้แต่ กะพริบตา สติปัญญาเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขน ขาเป็นอัมพาต สมองพิการ ปัญญาอ่อน เป็นโรคลมชัก เป็นต้น

โรคนี้ป้องกันได้โดยให้เด็กไปรับวัคซีนตั้งแต่อายุ 1-3 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ปีต่อมาจึงฉีด 1 เข็ม เป็นอันครบชุด และสามารถป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ควรกำจัดยุงรอบบ้านให้หมดสิ้นไป สำหรับโรคอื่นที่อาการใกล้เคียงกัน เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคบาดทะยัก เป็นต้น
อ่านต่อ..

โรคกลาก

อาการ มีอาการคันที่รอยโรค ซึ่งมีลักษณะเป็นวงมีขอบเขตชัดเจนสีแดงเป็นขุยหรือเป็นตุ่มนูนใส หรือของเขต

อาจตกสะเก็ด ผิวหนังข้างใต้สะเก็ดจะมีสีแดง มีน้ำเหลืองไหลซึม ส่วนตรงกลางแผลเรียบเท่าผิวหนังปกติ กลากมักเป็นบริเวณอับชื้น เช่น แผ่นหลัง นิ้วเท้า รักแร้ หนังศีรษะ เป็นต้น แต่ก็ขึ้นได้ทั่วทุกแห่งของร่างกาย ถ้าเป็นที่ง่ามเท้าผิวหนังบริเวณง่ามเท้าจะเป็นแผ่นขาวยุ่ยๆ ลอกได้ และปริออกจากกัน มีกลิ่นเหม็นและคันมาก และมีการกระจายตัวไปยังบริเวณผิวหนังใต้นิ้วเท้า
เชื้อกลาก (เชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟท์) สามารถติดต่อเมื่อได้รับเส้นใยหรือสปอร์ของเชื้อกลากเข้าสู่ผิวหนัง ติดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง การคลุกคลีกับผู้ป่วย ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และติดจากเชื้อกลากที่อยู่ทั่วไปบนพื้นดิน การเดินย้ำน้ำสกปรก พบในสัตว์ต่างๆ ด้วย เช่น แมว สุนัข เป็นต้น
การรักษา รักษาด้วยการทายาฆ่าเชื้อราไมโคนาโซล หรือโคลไตรมาโซล หรือ คีโตโคนาโซล หากเป็นมากต้องทานยาฆ่าเชื้อราด้วย เช่น ไอทราโคนาโซล หรือคีโตโคนาโซล เป็นเวลานานหลายเดือน เมื่อกลากหมดไปแล้วยังต้องใช้ยาต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากลากจะไม่เจริญเติบโตขึ้นมาอีก
สามารถใช้สมุนไพรรักษากลาก เกลื้อนได้ ดังนี้
  1.     ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้กลากเกลื้อน วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  2.     ใช้ใบชุมเห็ดไทย ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงหรืออัลกอฮอล์เล็กน้อยพอแฉะๆ ทาบริเวณที่เป็น วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  3.     ผสมผงขมิ้นกับน้ำ หรือเอาเหง้าสดๆ มาตำให้แหลก แล้วทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันจนหาย
  4.     นำกระเทียมสดใหม่มาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นาน 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้า-เย็น เป็นประจำทุกวัน สารอัลลิซินในกระเทียมเป็นสารออกฤทธิ์ทำลายเชื้อกลาก เกลื้อน สารนี้สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อนและความชื้น การใช้กระเทียมเก่าที่เก็บไว้นานจะมีสารอัลลิซินเหลืออยู่น้อย
  5.     ใบทองพันชั่งสด 6 ใบ ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนและกลาก หรือเอารากทองพันชั่ง 2-3 รากมาป่นแช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ เอาเหล้าแห้งที่แช่ไว้มาทา
อ่านต่อ..

ไข้รูมาติก

อาการ มักเกิดหลังอาการอักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบประมาณ 1-4 วัน จะเริ่มปวดตามข้อที่มีขนาดใหญ่
อย่างเช่น หัวเข่า ข้อศอก ข้อเท้า ข้อมือ โดยที่ข้อเหล่านั้นมีอาการอักเสบ บวมแดง ปวดมากโดยเริ่มปวดทีละข้อสองข้อก่อน แล้วค่อยๆ ลุกลามต่อไป มักจะเป็นมากกว่าหนึ่งข้อ แต่ละข้อจะมีอาการอักเสบอยู่นาน 5-10 วัน แล้วหายปวดบวมได้เองแม้ไม่ได้รักษา
นอกจากมีอาการปวดข้อแล้วยังเกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ เพราะร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติกับเชื้อ มักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย ถ้าเป็นไม่มากอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบ นอนราบไม่ได้ บางรายทำให้กลายเป็นโรคหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจวาย ซึ่งพบประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกจะมีความพิการที่หัวใจด้วย โดยอาจเป็นทั้งตีบและรั่วในขณะเดียวกันที่ลิ้นเดียว หรือหลายลิ้นได้
บางคนอาจมีผื่นลักษณะคล้ายแผนที่ตามลำตัว แขน ขา อาจมีตุ่มเล็กๆ ที่ผิวหนัง บริเวณหลังมือ หน้าเข่า หลังเท้า ข้อเท้า ข้อมือ ตุ่มนี้จะค่อยๆ ยุบได้เอง ใช้เวลาหลายสัปดาห์ ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นแผ่ออกโดยรอบ เป็นวงขอบแดง ตรงกลางขาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร ไม่เจ็บ ไม่คัน และจางหายได้เองอย่างรวดเร็ว ถ้าพบมักแสดงว่ามีการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เบตา - สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ ติดต่อง่ายมาก ทางเดียวกับไข้หวัดคือ ทางระบบหายใจ ไอ จาม รดกันเข้าทางจมูกและเข้าทางปากด้วย เชื้อผ่านเข้าไปทำให้มีการอักเสบที่คอหอยและบริเวณต่อมทอนซิล เมื่อไม่ได้รับการรักษาหรือร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อนี้ผิดปกติ โดยร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาทำลายตนเอง จึงทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ เช่น ผิวหนังอักเสบ ระบบประสาทผิดปกติเกิดชัก หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ ปวดตามข้อหลายๆ ข้อ และหัวใจอักเสบซึ่งเป็นได้ตั้งแต่เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ไข้รูมาติก พบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี มักพบในประเทศกำลังพัฒนาในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน บริเวณชุมชนแออัด โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็กหรือที่ๆ มีผู้คนอยู่หนาแน่น ไข้รูมาติกจัดว่าเป็นสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจพิการที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจรูมาติกนั้นเป็นมาตั้งแต่วัยเด็กแล้ว
การรักษา แพทย์ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย อาจตรวจพบความผิดปกติของหัวใจ เช่น เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือใช้เครื่องฟังตรวจมีเสียงฟู่ เป็นต้น ซึ่งมักจะพบตรงบริเวณใต้ราวนมซ้าย ถ้าเป็นรุนแรงอาจพบอาการของหัวใจวาย เช่น หอบ บวม เป็นต้น ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ ผู้ป่วยมักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด (ตรวจ ESR, ASO titer) ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซ์เรย์ปอด
แนวทางการรักษา
  1. รักษาการติดเชื้อ โดยใช้ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลินวี หรืออีริโทรมัยซิน อย่างน้อย 10 วัน
  2. ใช้ยาลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ด้วยยาที่ได้ผลดีคือ แอสไพริน ในขนาดสูง 2-4 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง หรือรักษาข้ออักเสบด้วยยาโซเดียมซาลิซัยเลต และฮอร์โมนสเตียรอยด์ หายใน 5-10 วัน
  3. ในรายที่มีอาการหัวใจอักเสบรุนแรง อาจเพิ่มสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน เป็นต้น ถ้ามีภาวะหัวใจวาย ก็ให้การรักษาแบบภาวะหัวใจวาย
  4. หากควบคุมแขนขาไม่ได้ แพทย์ใช้ยาควบคุมการเคลื่อนไหว
  5. หากเกิดลิ้นหัวใจพิการ การรักษาอาจเพียงขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ ผ่าตัด ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ หรือต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ทั้งนี้ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ไม่หายขาด
เมื่ออาการหายดีแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจรักษาเป็นประจำ โดยจะให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะยาวเพื่อป้องกันมิใช้ลิ้นหัวใจพิการ กลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก ในรายที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก ใช้เครื่องหัวใจได้ยินเสียงฟู่ ต้องกินยาปฏิชีวนะดังกล่าวไปตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวไปได้นาน
การดูแลตนเอง ผู้ป่วยควรทำงานไปตามกำลัง อย่าได้ฝืนร่างกาย และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง งดสุรา น้ำชา กาแฟ น้ำเย็นๆ

อ่านต่อ..