อาการ หลังได้รับเชื้อไข้เลือด 3-15 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน (ไข้สูง
39-40๐ซ.) นาน 3-6 วัน
ไม่มีน้ำมูกไหล
ซึ่งแตกต่างไปจากไข้หวัด อาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย คือ ท้องผูกหรือท้องเสีย
เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดศีีรษะ หรือปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง
ซึ่งอาจปวดบริเวณลิ้นปี่และชายโครงขวา ซึ่งเป็นบริเวณของตับ
ส่วนมากจะไม่มีอาการจุดเลือดออกตามตัว
ถ้ามีเยื่อบุตาล่างสีแดงจัด มีจุดเลือดออกทั่วร่างกายแสดงว่าเป็นไข้เลือดออกอย่างรุนแรง
หากรุนแรงมากจะมีอาการกระสับกระส่าย ความดันโลหิตต่ำ บางรายมีเลือดกำเดาออก บางรายมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
อาจหมดสติได้

แบ่งการดำเนินโรคออกเป็น 3 ระยะ คือ
1.ระยะไข้สูง
ไข้สูงลอยตลอดเวลา (ทานยาลดไข้ก็มักจะไม่ลด) หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ซึม
เบื่ออาหาร และอาเจียนร่วมด้วยเสมอ ปวดท้องในบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา
หรือปวดท้องทั่วไป ส่วนมากจะไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอมาก
ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดง ไม่คัน ขึ้นตามแขน ขา
และลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 วัน การทดสอบทูร์นิเคต์ในระยะนี้ส่วนใหญ่จะให้ผลบวกตั้งแต่วันที่
2 ของไข้ ถ้าไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากไข้ก็จะลดลงในวันที่ 5-7
วัน และหายจากโรค แต่ถ้าเป็นมากก็จะเข้าสู่ระยะที่ 2
2.ระยะช็อกและมีเลือดออก
พบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรง อาการจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่
3-7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤติ โดยไำข้จะเริ่มลดลง
แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการทรุดหนัก มีอาการปวดท้อง และอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น
กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือและเท้าเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว
และความดันเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก อาจเสียชีวิตได้ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น)
เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ จนเสียชีวิต
ถ้าหากผู้ป่วยไม่เสียชีวิตก็เข้าสู่ระยะที่ 3
3.ระยะที่ 3 ทุเลาลง จะมีอาการทุเลาลงอย่างรวดเร็ว เริ่มอยากทานอาหาร จากนั้นจะกลับมาสู่สภาพปกติ
รวมเวลาตั้งแต่เริ่มมีไข้ประมาณ 7-10 วัน
สัญญาณอันตรายของไข้เลือดออก คือ
- กระสับกระส่าย หรือซึมมาก
- ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
- อาเจียนมาก
- มือ เท้าเย็นชืด มีเหงื่อออกและท่าทางไม่สบายมาก
- หายใจหอบและเขียว
- มีจ้ำเลือดตามตัวหลายแห่ง
- มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถ้าพบอาการดังกล่าวเพียงใดอย่างหนึ่ง ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
สาเหตุ ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- ไวรัส เด็งกี (Dengue) มีมากประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก
- ไวรัส ชิกุนคุนยา (Chigunkunya) มีน้อย ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10 โดยหากเป็นการติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งแรก อาการจะไม่รุนแรง หลังติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้่มกันต่อเชื้อต้นเหตุนั้น แต่หากติดเชื้อชนิดนี้เป็นครั้งที่ 2 จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดการเสียเลือดและช็อกเสียชีิวิตได้
ไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียซึ่งออกดูดกินเลือดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออก
เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุงตลอดชีวิตของมัน คือ 1-2 เดือน ช่วงนี้ยุงก็สามารถแพร่เชื้อให้คนที่ถูกยุงกันได้ทุกครั้งไป
การรักษา ควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก 1 วัน ไข้ยังไม่ลด
เมื่อเจาเลือดตรวจพบว่ามีเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ อาจมีเม็ดเลือดแดงแตก
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา ทำได้เพียงรักษาตามอาการ หากมีอาการรุนแรงจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ส่วนผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงแพทย์จะให้กลับไปพักผ่อน ดูแลอาการที่บ้าน หากรุนแรงจึงไปพบแพทย์ใหม่
ควรกำจัดยุงรอบบ้านให้หมดสิ้นไปและป้องกันไม่ให้ยุงกัด